ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา; 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นักโทษประหาร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์สวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนีย์พิริยะพาหะ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ของพันเอก หลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 ณ บ้านสำเพ็ง หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส จังหวัดพระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน

ตามคตินิยมในสกุล ลูกข้าหลวงเดิมจะต้องเป็นมหาดเล็กหลวง มิฉะนั้นก็เรียกได้ว่าขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นเมื่อพระยาเทพหัสดิน มีอายุได้เพียง 5 ขวบ ก็ได้ถูกนำตัวเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ ธูปเทียนเป็นมหาดเล็กหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสว่า “เด็กคนนี้หน้าตาดีและคล่องแคล่ว ทั้งอายุอานามก็ไล่เลี่ยกับฟ้าชายใหญ่ ให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กฟ้าชายใหญ่เถิด จะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำตัวไปถวายดอกไม้ธูปเทียนให้เป็นมหาดเล็ก และเป็นเพื่อนเล่นกับกับเจ้าฟ้าชายพระองค์ใหญ่ คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งต่อมาได้ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดาได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข ในสำนักขุนอนุกิจวิทูร แล้วจึงย้ายไปอยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนอายุ 13 ปี หลังจากหลวงฤทธิ์นายเวรถึงแก่กรรมในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ มารดาว่า "ข้าจะเลี้ยงมันแทนพ่อของมันที่อายุสั้นนัก" ต่อมาก็ย้ายไปเข้าโรงเรียนทหารที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม จนกระทั่งสำเร็จกลับเข้ามารับราชการทหารสนองพระเดชพระคุณนับแต่ปี พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา

ขณะเมื่อครั้งที่ยังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทิวงคต จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมา และให้บรรดามหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ก่อน โอนไปสังกัดขึ้นเป็นมหาดเล็กสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระยาเทพหัสดินจึงได้โอนสังกัดเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ นับแต่นั้นมา

ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงเล็งเห็นการไกล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และ ออสเตรีย-ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีพระบรมราชโองการเรียกผู้อาสาสมัคร เพื่อเดินทางไปร่วมรบยังสมรภูมิยุโรป มีคนสมัครเป็นจำนวนมาก ในเวลานั้นพระยาเทพหัสดินซึ่งยังมีตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เป็นนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะทูตพิเศษในตำแหน่งแม่ทัพไทยที่จะนำกองทัพทหารอาสาไทยเดินทางไปร่วมรบทวีปในยุโรป

ทหารอาสาไทยที่ไปรบในสงครามนั้นมีจำนวน 1,500 คน โดย 500 คน สังกัดกองบินทหารบก มีนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) เป็นผู้บังคับกอง อีก 1,000 คน สังกัดกองทหารบกรถยนต์ มีนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) ซึ่งต่อมาได้เป็น นายพันโท พระอาสาสงคราม เป็นผู้บังคับกอง ทหารอาสากองทหารบกรถยนต์เหล่านี้ ภายหลังสงครามได้ร่วมกับพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ก่อตั้ง บริษัท แท็กซี่สยาม ขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2466 สมัยนั้นเรียกกันว่า "รถไมล์" เก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง

เมื่อกลับจากงานพระราชสงครามแล้ว ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ แต่โปรดให้โอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือนในราชทินนาม พระยาเทพหัสดิน ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์และราชบุรี

ตลอดระยะเวลาการรับราชการนั้น พระยาเทพหัสดิน ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารระดับสูงที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โดยเฉพาะจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเคยพระราชทานมะพร้าวอ่อนลูกที่พระองค์กำลังเสวยน้ำอยู่ ให้แก่พระยาเทพหัสดิน เพื่อดื่มร่วมกัน

เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล รวมทั้งผู้อยู่เบี้องหลัง ที่พยายามจะลอบสังหาร หลวงพิบูลสงคราม โดยจับกุมผู้ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ มีพันเอกหลวงพรหมโยธี เป็นประธาน ศาลพิเศษนี้ได้ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำ และตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักโทษจำนวน 21 คน คือ

นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชายทั้ง 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีใครได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาบ้างหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ในส่วนตัวของ พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ศาลเห็นว่าเคยเป็นผู้ประกอบความดีแก่ประเทศมาก่อน จึงลดหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร โดยตลอดระยะเวลาที่ต้องโทษอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถูกจองจำเดี่ยวในห้องขังห้องสุดท้ายติดทางขึ้นลงบันได ซึ่งเป็นคนละด้านกับห้องขังของ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ซึ่งถูกจองจำเดี่ยวเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ลูกชายทั้ง 2 ได้ถูกเบิกตัวไปประหารชีวิตแล้วในเวลาเช้ามืด พลโท พระยาเทพหัสดิน ยังไม่ทราบเรื่อง และได้ชงกาแฟเพื่อให้ผู้คุมเรือนจำนำไปให้ลูกชายเหมือนเช่นทุกวันที่เคยทำมา ถึงค่อยทราบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ถูกจองจำอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถือเป็นที่เคารพของบรรดานักโทษคดีเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติมาก่อน

ครั้นรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามสิ้นอำนาจลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภารกิจแรก ๆ ที่รัฐบาลรีบกระทำก็คือ ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษการเมืองทั้งหมด พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา 3 ปีต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490

หลายปีต่อมา พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับหนังสือขอโทษจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้เข้าใจผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอการอโหสิกรรม

พระยาเทพหัสดิน เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 จังหวัดพระนคร (ส.ส.พระนคร) จากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2476 ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วย และมีตำแหน่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาในบั้นปลายชีวิต ได้รับพระราชทานยศสูงสุดเป็น พลเอก (พล.อ.) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ซึ่งกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังจากรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2490 และรัฐประหาร พ.ศ. 2491 ซึ่งก่อนหน้าการรัฐประหาร พ.ศ. 2491 ไม่นาน พระยาเทพหัสดินก็เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้ จอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180